เมนู

อริยสัจ 4 เหล่านี้แล เป็นของแท้ไม่แปรผัน ไม่เป็นอย่างอื่น เพราะฉะนั้น
จึงเรียกว่า อริยสัจ (สัจจะอันประเสริฐ) ดังนี้.
พึงทราบวินิจฉัยในสัจจะนี้โดยวิเคราะห์เพียงเท่านี้.

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยประเภทมีลักษณะเป็นต้น


พึงทราบวินิจฉัยโดยประเภทมีลักษณะเป็นต้นอย่างไร จริงอยู่ ใน
สัจจะ 4 เหล่านี้ ทุกขสัจจะมีการเบียดเบียนเป็นลักษณะ มีความให้เร่าร้อน
เป็นรส มีปวัตติเป็นปัจจุปัฏฐาน. สมุทยสัจจะ มีเหตุเป็นแดนเกิดเป็น
ลักษณะ มีการไม่เข้าไปตัดเป็นรส มีปลิโพธเป็นปัจจุปัฏฐาน. นิโรธสัจจะ
มีความสงบเป็นลักษณะ มีการไม่จุติเป็นรส มีการไม่มีนิมิตเป็นปัจจุปัฏฐาน.
มรรคสัจจะ มีการนำออกเป็นลักษณะ มีการประหาณกิเลสเป็นรส มีวุฏฐานะ
(คือการออก) เป็นปัจจุปัฏฐาน.
อีกอย่างหนึ่ง สัจจะ 4 นี้มีปวัตติ (การเป็นไป) มีปวัตตนะ (เหตุ
ให้เป็นไป) มีนิวัตติ (ความกลับ) มีนิวัตตนะ (เหตุให้กลับ) เป็นลักษณะ
โดยลำดับ* และมีสังขตะ (คือธรรมชาติอันปัจจัยปรุงแต่ง) มีตัณหา มีอสังขตะ
(คือธรรมชาติอันปัจจัยไม่ปรุงแต่ง) มีทัสสนะ (การเห็น) เป็นลักษณะตาม
ลำดับเหมือนกันแล.
พึงทราบวินิจฉัยโดยประเภทมีลักษณะเป็นต้นในที่นี้ด้วยประการฉะนี้.

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยอรรถ


ก็ในข้อว่า โดยอรรถและโดยถอดความ นี้ พึงทราบโดยอรรถ
ก่อน หากมีคำถามว่า อะไรเป็นอรรถของสัจจะ ก็จะพึงมีคำตอบอย่างพิสดาร
1 คำว่า ประวัติหมายถึงทุกขสัจจะ ปวัตตนะหมายถึงสมุทัย นิวัตติหมายถึงนิโรธ นิวัตตนะ
หมายถึงมรรค (ผู้แปล)

ว่า ภาวะใด เมื่อบุคคลเพ่งอยู่ด้วยปัญญาจักษุ ย่อมไม่วิปริตเหมือนมายากล
ไม่ลวงตาเหมือนพยับแดด ไม่เป็นสภาวะที่ใคร ๆ หาไม่ได้เหมือนอัตตาของ
พวกเดียรถีย์ โดยที่แท้เป็นโคจร (อารมณ์) ของอริยญาณ โดยประการมี
การเบียดเบียน (ทุกขสัจ) มีเหตุเป็นแดนเกิด (สมุทัยสัจ) มีความสงบ
(นิโรธสัจ) มีการนำออก (มรรคสัจ) ซึ่งเป็นของแท้ ไม่วิปริต เป็นของจริง
ทีเดียว ภาวะที่สัจจะเป็นของแท้ ไม่วิปริต เป็นของจริง เป็นดังลักษณะไฟ
และเป็นดังธรรมดาของสัตว์โลก (ต้องเกิดแก่เจ็บตาย) นั้น บัณฑิตพึงทราบว่า
เป็นอรรถของสัจจะ เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า อิทํ ทุกฺขนฺติ โข ภิกฺขเว
ตถเมตํ อวิตเมตํ อนญฺญถเมตํ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำว่า นี้ทุกข์
ดังนี้แล นั่นเป็นของแท้จริง นั่นเป็นของไม่ผิด นั่นไม่เป็นไปโดยประการอื่น
เป็นต้น. อีกอย่างหนึ่ง
นาพาธกํ ยโต ทุกฺขํ ทุกฺขา อญฺญํ น พาธกํ
พาธกตฺตนิยาเมน ตโต สจฺจมิทํ มตํ

นอกจากทุกข์แล้ว ตัวเบียดเบียนย่อม
ไม่มีตัวเบียดเบียนอื่นนอกจากทุกข์ก็หามีไม่
เพราะฉะนั้น ทุกข์นี้ บัณฑิตจึงรู้ว่าเป็น
สัจจะ โดยกำหนดอรรถว่าเป็นตัวเบียด-
เบียน.
ตํ วินา นาญฺญโต ทุกฺขํ น โหติ น จ ตํ ตโต
ทุกฺขเหตุนิยาเมน อิติ สจฺจํ วิสตฺติกา

เว้นจากตัณหานั้นแล้วทุกข์ย่อมไม่มี
แต่เหตุอื่น และทุกข์นั้นย่อมไม่มีจากตัณหา

นั้นก็หาไม่ เพราะฉะนั้น ตัณหาตัวซัดซ่าย
ไปในอารมณ์ต่าง ๆ นั้น บัณฑิตจึงรู้ว่า
เป็นสัจจะ โดยกำหนดอรรถว่าเป็นเหตุแห่ง
ทุกข์.
นาญฺญา นิพฺพานโต สนฺติ สนฺตํ น จ น ตํ ยโต
สนฺตภาวนิยาเมน ตโต สจฺจมิทํ มตํ

ความสงบอื่นนอกจากพระนิพพาน
แล้วย่อมไม่มี และพระนิพพานนั้นเว้นจาก
ความสงบก็หามีไม่ เพราะฉะนั้น พระ-
นิพพานนี้ บัณฑิตจึงรู้ว่าเป็นสัจจะ โดย
กำหนดอรรถว่าเป็นความสงบ.
มคฺคา อญฺญํ น นิยฺยานํ อนิยฺยาโน น จาปิ โส
ตจฺฉนิยฺยานภาวตฺตา อิติ โส สจฺจสมฺมโต

นอกจากมรรคแล้ว เครื่องนำออก
อย่างอื่นย่อมไม่มี แม้มรรคนั้นมิใช่เครื่อง
นำออกก็หาไม่ เพราะฉะนั้น มรรคนั้น
บัณฑิตจึงรู้ว่าเป็นสัจจะ เพราะอรรถว่าเป็น
เครื่องนำออกอย่างแท้จริง.
อิติ ตจฺฉาวิปลฺลาส ภูตภาวํ จตูสุปิ
ทุกฺขาทีสฺววิเสเสน สจฺจตฺถํ อาหุ ปณฺฑิตา

บัณฑิตทั้งหลายกล่าวภาวะอันแท้ไม่
แปรผัน เป็นของจริงในสัจจะทั้ง 4 มีทุกข์
เป็นต้น โดยไม่แปลกกันว่า เป็นอรรถแห่ง
สัจจะ ด้วยประการฉะนี้แล.

พึงทราบวินิจฉัยสัจจะโดยอรรถ ดังพรรณนามาฉะนี้.

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยถอดความ


พึงทราบวินิจฉัย โดยถอดเอาความ อย่างไร ? สัจจศัพท์ใน
อธิการนี้ ย่อมปรากฏในอรรถมิใช่น้อย อย่างไร คือสัจจศัพท์ ย่อมปรากฏ
ในวาจาสัจจะ(พูดจริง)เหมือนในประโยคมีอาทิว่า สจฺจํ ภเณ น กุชฺเฌยฺย
บุคคลพึงกล่าวคำสัตย์ ไม่พึงโกรธ. ที่ปรากฏในวิรติสัจจะ (มุสาวาทวิรัติ)
เหมือนในประโยคมีอาทิว่า สจฺเจ ฐิตา สมณพฺราหฺมณา สมณพราหมณ์
ผู้ตั้งอยู่ในสัจจะ. ที่ปรากฏใน ทิฏฐิสัจจะ (จริงโดยทิฏฐิ) เหมือนในประโยค
มีอาทิว่า กสฺมา นุ สจฺจานิ วทนฺติ นานาปวาทิยาเส กุสลาวทานา
เพราะเหตุไรหนอ พวกสมณพราหมณ์จึงกล่าวสัจจะไปต่าง ๆ คือเป็นผู้อ้างตน
ว่าเป็นผู้ฉลาดกล่าวยืนยันสัจจะหลายอย่าง. ที่ปรากฏใน ปรมัตถสัจจะ คือ
นิพพานและมรรค เหมือนในประโยคมีอาทิว่า เอกํ หิ สจฺจํ น ทุติยมตฺถิ
สัจจะมีอย่างเดียวไม่มีอย่างที่สอง. ที่ปรากฏใน อริยสัจจะ เหมือนในประโยค
มีอาทิว่า จตุนฺนํ สจฺจานํ กติ กุสลา บรรดาสัจจะ 4 สัจจะที่เป็นกุศลมี
เท่าไร. แม้ในที่นี้ สัจจศัพท์นี้นั้นย่อมเป็นไปในอริยสัจจะ (สัจจะอันประเสริฐ)
ดังนี้.
พึงทราบวินิจฉัยโดยถอดความในสัจจะนี้ ฉะนี้.